วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โครงร่างการวิจัย ควรมีส่วนประกอบสำคัญ 22 ประการ


1. ชื่อเรื่อง (The Title)




        http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
       1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
       2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
       3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
          3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
          3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
          3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
          3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
          3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
       4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
       5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น


       http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content4.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การกำหนดชื่อเรื่องการวิจัย ควรจะกำหนดให้เป็นที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ควรจะอ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือและชัดเจนในปัญหาที่จะทำการวิจัย โดยทั่ว ๆ ไป   มักนิยมตั้งชื่อปัญหาการวิจัยกันดังนี้
          1. ควรตั้งชื่อเรื่องให้สั้น ใช้คำเฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง หรือตัวแปรที่ จะศึกษาเท่านั้น
          2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา อ่านแล้วสื่อความหมายทิศทางเดียว ไม่ควรใช้คำสื่อความหมายได้หลายทิศทางวกไปเวียนมาและไม่สู่ประเด็นของปัญหา
          3. ควรตั้งเป็นข้อความเชิงบอกเล่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าตั้งเป็นเชิงคำถามหรือข้อความเชิง ปฏิเสธ
          4. หัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงถึงมโนภาพของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของตัวแปร ของปัญหานั้น ๆ
          5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าประเด็นศึกษาจะ คล้ายกันก็ตาม
          6. หัวข้อปัญหามีความหมายชัดเจนในตัวของมันเอง สามารถสื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็น สำคัญว่า ศึกษาเรื่องอะไร และจะศึกษากับใคร
ตัวอย่าง : ชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดี
          1. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดม ศึกษา
          2. พัฒนาการระบบอุดมศึกษาของไทย
          3. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนริมแม่น้ำโขง เขตจังหวัดเชียงราย
          4. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัยระหว่างนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
          5. การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 3 เรื่อง สมการ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนแบบปกติ


       http://www.drpracha.com/index.php?topic=1119.0   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  หลักการตั้งชื่อการวิจัย มีดังนี้
       1. พยายามกำหนดชื่องานวิจัยให้ง่าย สั้น กระชับและชัดเจน
       2. ควรกำหนดขอบเขตของประชากรให้อยู่ในชื่อเรื่อง
       3.
ชื่อเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
       4. พยายามให้ชื่องานวิจัยควรมีคำศัพท์(Wording)ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้ง่าย หากมี Key Search (TAGS) จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ 
   


      สรุป
      การตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
         1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ           
         2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง                                                                      
         3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
                3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
                3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
                3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
                3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
         4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง
         5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าประเด็นศึกษาจะ คล้ายกันก็ตาม
        6. หัวข้อปัญหามีความหมายชัดเจนในตัวของมันเอง สามารถสื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็น สำคัญว่า ศึกษาเรื่องอะไร และจะศึกษากับใคร
        7. ควรตั้งเป็นข้อความเชิงบอกเล่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าตั้งเป็นเชิงคำถามหรือข้อความเชิง ปฏิเสธ
        8. หัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงถึงมโนภาพของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้น ๆ
        9. ชือเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
       10. พยายามให้ชื่องานวิจัย ควรมีคำศัพท์ (Wording) ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้ง่าย หากมี Key Search (TAGS) จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ 



ที่มา
http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content4.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
http://www.drpracha.com/index.php?topic=1119.0  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555