วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โครงร่างการวิจัย ควรมีส่วนประกอบสำคัญ 22 ประการ


1. ชื่อเรื่อง (The Title)




        http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
       1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
       2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
       3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
          3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
          3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
          3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
          3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
          3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
       4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
       5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น


       http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content4.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การกำหนดชื่อเรื่องการวิจัย ควรจะกำหนดให้เป็นที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ควรจะอ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือและชัดเจนในปัญหาที่จะทำการวิจัย โดยทั่ว ๆ ไป   มักนิยมตั้งชื่อปัญหาการวิจัยกันดังนี้
          1. ควรตั้งชื่อเรื่องให้สั้น ใช้คำเฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง หรือตัวแปรที่ จะศึกษาเท่านั้น
          2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา อ่านแล้วสื่อความหมายทิศทางเดียว ไม่ควรใช้คำสื่อความหมายได้หลายทิศทางวกไปเวียนมาและไม่สู่ประเด็นของปัญหา
          3. ควรตั้งเป็นข้อความเชิงบอกเล่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าตั้งเป็นเชิงคำถามหรือข้อความเชิง ปฏิเสธ
          4. หัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงถึงมโนภาพของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของตัวแปร ของปัญหานั้น ๆ
          5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าประเด็นศึกษาจะ คล้ายกันก็ตาม
          6. หัวข้อปัญหามีความหมายชัดเจนในตัวของมันเอง สามารถสื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็น สำคัญว่า ศึกษาเรื่องอะไร และจะศึกษากับใคร
ตัวอย่าง : ชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดี
          1. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดม ศึกษา
          2. พัฒนาการระบบอุดมศึกษาของไทย
          3. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนริมแม่น้ำโขง เขตจังหวัดเชียงราย
          4. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัยระหว่างนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
          5. การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี ที่ 3 เรื่อง สมการ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนแบบปกติ


       http://www.drpracha.com/index.php?topic=1119.0   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  หลักการตั้งชื่อการวิจัย มีดังนี้
       1. พยายามกำหนดชื่องานวิจัยให้ง่าย สั้น กระชับและชัดเจน
       2. ควรกำหนดขอบเขตของประชากรให้อยู่ในชื่อเรื่อง
       3.
ชื่อเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
       4. พยายามให้ชื่องานวิจัยควรมีคำศัพท์(Wording)ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้ง่าย หากมี Key Search (TAGS) จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ 
   


      สรุป
      การตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
         1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ           
         2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง                                                                      
         3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
                3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
                3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
                3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
                3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
         4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง
         5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าประเด็นศึกษาจะ คล้ายกันก็ตาม
        6. หัวข้อปัญหามีความหมายชัดเจนในตัวของมันเอง สามารถสื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็น สำคัญว่า ศึกษาเรื่องอะไร และจะศึกษากับใคร
        7. ควรตั้งเป็นข้อความเชิงบอกเล่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าตั้งเป็นเชิงคำถามหรือข้อความเชิง ปฏิเสธ
        8. หัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงถึงมโนภาพของตัวแปร หรือความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้น ๆ
        9. ชือเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
       10. พยายามให้ชื่องานวิจัย ควรมีคำศัพท์ (Wording) ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้ง่าย หากมี Key Search (TAGS) จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ 



ที่มา
http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content4.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
http://www.drpracha.com/index.php?topic=1119.0  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555






























วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

               http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า 
รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน  ได้แก่
      1. ภาพนิ่ง
      2. ภาพเคลื่อนไหว
      3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
      4. เสียง
      5. ส่วนต่อประสาน
      6. การเชื่อมโยงหลายมิติ 



             http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติโดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้วรวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ช่วย

             http://cs.ssru.ac.th/s51122201009/  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลายๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน   เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย  สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่างๆ  เช่น
         1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่างๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่างๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ   เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น
         2. การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
         3. สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทเช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

       สรุป
       รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ  ลักษณะของสื่อประสมที่ใช้ได้แก่

             1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ เกมต่างๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่างๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ   เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น

             2. การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่าง

             3. สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภท เช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ


ที่มา
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555
http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555

http://cs.ssru.ac.th/s51122201009/   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555





วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

สื่อประสม คือ

           http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป 

           http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0  ได้รวบรวมแลักล่าวไว้ว่า สื่อประสม (multimedia theory) เป็น การนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่าง มาสัมพันธ์กัน และ มีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกสื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียน มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ให้นักเรียนได้ค้นพบวิธีการ ที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
          

           http://www.oknation.net/blog/TiDT3E/2011/09/19/entry-1  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อ ประสม หมายถึงการใช้สื่อหลายอย่างร่วมกันได้แก่ ตัวอักษรข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพแอนิเมชั่น และเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอควบคุมโปรแกรมมัลติมีเดียหรือแฟ้ม สื่อประสม และใช้ในลักษณะมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ เป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน "มัลติมีเดียเป็น เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้        
          


          สรุป 
          สื่อประสม หมายถึงการใช้สื่อหลายอย่างร่วมกันได้แก่ ตัวอักษรข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพแอนิเมชั่น และเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอควบคุมโปรแกรมมัลติมีเดียหรือแฟ้ม สื่อประสม และใช้ในลักษณะมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ เป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน "มัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน


ที่มา
http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
http://www.oknation.net/blog/TiDT3E/2011/09/19/entry-1  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555


สื่อการสอน คือ

             http://sayan201.blogspot.com/  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 

             http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ


             http://nuijang17.blogspot.com/2008/01/5.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อกิจกรรมหรือกระบวนการ แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

             สรุป
             สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ที่มา
http://sayan201.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
http://nuijang17.blogspot.com/2008/01/5.html   เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษา

              http://thaigoodview.com/node/25772?page=0%2C0  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
     1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วย
สนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้
ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น

     2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตาม
และประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
     3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน
การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น
การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น


             http://bunmamint18.blogspot.com/  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
     1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
     2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
     3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

           ฉัตรชัย  เรืองมณี (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346)  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   การเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็นทำเป็น (Constructive)  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้ (Knowledge Body) ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล (Individualdifferent) ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ (Facilitator) ในการเรียนการสอน  ดังนั้นคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Classroom) และการจัดการศึกษาแบบ e-Education  ซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร  เนื้อหา  กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูล ทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และสามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบ e-Learning นั่นเอง

              สรุป
              เทคโนโลยี สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
     1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเรียนรู้
     2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็น ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผล คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
     3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้าน การศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 
ที่มา
http://thaigoodview.com/node/25772?page=0%2C0  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
http://bunmamint18.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555
ฉัตรชัย  เรืองมณี.http://www.gotoknow.org/blogs/posts/106346  เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

             http://www.thaigoodview.com/node/55440  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ

            ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (http://most.go.th/ictc/index.php/ictc-km/it-library/48-it-articles/89--information-technology.html?start=1) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย

             http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__3.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

             สรุป
             เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ

ที่มา
http://www.thaigoodview.com/node/55440   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.http://most.go.th/ictc/index.php/ictc-km/it-library/48-it-articles/89--information-technology.html?start=1 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__3.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยี หมายถึง

             http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ

            http://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือหมายถึงการนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เช่น การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่างๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

            http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=13&id=16869
สิปปนนท์ เกตุทัต กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

             สรุป
             เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มาใช้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ และรวมถึงกระบวนการหรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์โดยการนำความรู้ ทรัพยากร ทักษะต่างๆ มาใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ในหลายๆด้าน เช่น ด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านการทหาร ด้านธุรกิจ เป็นต้น

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม2555
http://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555
http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=13&id=16869  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษาคืออะไร
             กิดานันท์  มลิทอง (2540:246) ได้กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น 

              http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น 


             มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู 8 (http://teacher80std.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด
              สรุป
              นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนมีสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 

ที่มา
กิดานันท์  มลิทอง.(2540).นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2555
http://teacher80std.blogspot.com/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2555  

นวัตกรรม

นวัตกรรมคืออะไร
          กิดานันท์  มลิทอง (2540:245) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ว่า เป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย 

          (http://boc.dip.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=438&Itemid=48ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด 

          อัญชลี  อ่องเจริญ (http://kruunchalee.wordpress.com/) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงจากสิ่งดั้งเดิมให้ดีขึ้น เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนเชื่อถือได้ว่าให้ผลที่ดีกว่าเดิม นำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา เป็นผลทำให้ประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงขึ้น

          สรุป
          นวัตกรรม หมายถึง การนำวิธีใหม่ๆ เข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือนำวิธีการที่คิดว่าไม่ใช้แล้วมาเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่แล้วใช้ได้อีกครั้ง เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมให้มีประโยชน์และมีคุณค่า

ที่มา
กิดานันท์  มลิทอง.(2540).นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์
http://boc.dip.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=438&Itemid=48 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2555
http://kruunchalee.wordpress.com/. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2555

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)
              ทิศนา  แขมมณี (2553:98-106) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสัน และจอห์สัน (Johnson and Johnson, 1994: 31-32)กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
                1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
                2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น และ
                3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย
               1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ได้มีความหมายเพียงว่า มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งานและบอกผู้เรียนให้ช่วยกันทำงานเท่านั้น การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้ ต้องมีองค์ประกอบทีสำคัญครบ 5 ประการดังนี้ (Johnson and Johnson, 1994: 31-37)
                     1.1 การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (positive interdependence)
                          กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ จะต้องมีความตระหนักว่าสามาชิกกลุ่มทุกคนมีความสำคัญ และความสำเร็จของกลุ่มขึ้นกับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ในขณะเดียวกันสมาชิกแต่ละคนจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อกลุ่มประสบความสำเร็จ ความสำเร็จของบุคคลและของกลุ่มขึ้นอยู่กับกันและกัน ดังนั้นแต่ละคนต้องรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนและในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆ ด้วย
                     1.2 การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face promotive interaction)
                          การที่สมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันนางที่จะช่วยให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย สมาชิกกลุ่มจะห่วงใย ไว้วางใจ ส่งเสริม และช่วยเหลือกันและกันในการทำงานต่างๆ ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
                     1.3 ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability)
                          สมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ และพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ไม่มีใครที่จะได้รับประโยชน์โดยไม่ทำหน้าที่ของตน ดังนั้นกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบผลงาน ทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
                     1.4 การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (interpersonal and small-group skills)
                          การเรียนรู้แบบร่วมมือจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทักษะที่สำคัญๆ หลายประการ เช่น ทักษะทางสังคม ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหาขัดแย้ง รวมทั้งกรเคารพ ยอมรับ และไว้วางใจกันและกัน ซึ่งครูควรสอนและฝึกให้แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ดำเนินงานไปได้
                     1.5 การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)
                          กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อช่วยให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มครอบคลุมการวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการทำงานของกลุ่ม พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มและผลงานของกลุ่ม
                 2. ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                     2.1 มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น (greater efforts to achieve)
                          การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีความพยายามที่จะเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีผลงานมากขึ้น การเรียนรู้มีความคงทนมากขึ้น (long-term retention) มีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เหตุผลดีขึ้น และคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น
                     2.2 มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น (more positive relationships among students)
                          การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ใจในผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
                     2.3 มีสุขภาพจิตดีขึ้น (greater psychological health)
                          การเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมและความสามารถในการเผชิญกับความเครียดและความผันแปรต่างๆ
                3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                     กลุ่มการเรียนรู้ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 3 ประเภท คือ
                     3.1 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ (formal cooperative learning groups)
                          กลุ่มประเภทนี้ ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีการและเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นหลายๆ ชั่วโมงติดต่อกันหรือหลายสัปดาห์ติดต่อกันจนกระทั่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่กำหนด
                     3.2 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (informal cooperative learning groups)
                          กลุ่มประเภทนี้ครูจัดขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่นๆ โดยเฉพาะการสอนแบบบรรยายครูสามารถจัดกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือสอดแทรกเข้าไปเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจหรือใช้ความคิดเป็นพิเศษในสาระบางจุด
                     3.3 กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร (cooperative base groups) กลุ่มประเภทนี้เป็นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน/การเรียนรู้ร่วมกันมานานจนกระทั่งเกิดสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สมาชิกกลุ่มมีความผูกพัน ห่วงใย ช่วยเหลือกันและกันอย่างต่อเนื่อง

               http://oknation.net/blog/print.php?id=294321 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3  6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มด้วย

             บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า  เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
   2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
   3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
   4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
   5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
   2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
   3) มุขภาพจิตดีขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
   2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
   3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร


              สรุป
              การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnsonโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน


ที่มา
ทิศนา  แขมมณี.(2553).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
        ประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://dontong52.blogspot.com/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2555
http://oknation.net/blog/print.php?id=294321 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2555