วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

               http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า 
รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอน  ได้แก่
      1. ภาพนิ่ง
      2. ภาพเคลื่อนไหว
      3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
      4. เสียง
      5. ส่วนต่อประสาน
      6. การเชื่อมโยงหลายมิติ 



             http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติโดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้วรวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ช่วย

             http://cs.ssru.ac.th/s51122201009/  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลายๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน   เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย  สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่างๆ  เช่น
         1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่างๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่างๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ   เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น
         2. การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
         3. สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทเช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

       สรุป
       รูปแบบของสื่อหลายมิติที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ  ลักษณะของสื่อประสมที่ใช้ได้แก่

             1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ เกมต่างๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่างๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ   เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น

             2. การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่าง

             3. สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภท เช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ


ที่มา
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0;wap2  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555
http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555

http://cs.ssru.ac.th/s51122201009/   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น