วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนศริสต์ศตวรรษที่ 20

1.1 กลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
           ทิศนา  แขมมณี (2553:45-47) ได้รวบรวมไว้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่้านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge, 1964: 19-30)
          1.1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)นักคิดที่สำัคัญของกลุ่มนี้ คือ
เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียนโวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
             ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเีรียนรู้
               1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว และการกระทำใดๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
               2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
               3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
               4) การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
               5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยากเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีก และคัมภรีย์ไบเบิล เป็นต้น
             ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
               1) การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
               2) การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษ เป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
               3) การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาีที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน และภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมอง ให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
               4) การจัดให้ผู้เรียนได้ศึิกษาคัมภีร์ไบเบิลและยึดถือในพระเจ้าจะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี
          1.1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเืชื่อดังนี้
             ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
               1) พัฒนาการในเรื่องต่างๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
               2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral-active)
               3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
               4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้ไม่แสดงออกมา
                           
              http://oknation.net/blog/print.php?id=294321 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องโดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้ เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  
วิธีการสอนแบบโสเครติส (Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย (Didactic method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฎีนี้ ที่ใช้คำถามเพื่อดึงดูดความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัด และช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

         ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา 

สรุป
           จิตหรือสมองของคนเราสามารถพัฒนาให้มีความรู้และเก่งได้นั้นเกิดจากการฝึกฝน  ถ้าจิตหรือสมองของคนเราได้รับการฝึกฝนแล้วก็จะทำให้เขากล้าเผชิญและกล้าคิดกล้าตัดสินใจที่จะทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์และมีความรู้ตลอดจนการเรียนรู้ในสิ่งต่างที่ลึกและมีความยากมากๆ   ยิ่งยากและลึกเท่าไรนั่นหมายความว่าจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น  เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อของคนเราจะแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีได้นั้นก็ย่อมได้รับการฝึกฝนด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ


ที่มา
ทิศนา  แขมมณี.(2553).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีhttp://oknation.net/blog/print.php?id=294321 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 กรกฏาคม 2555
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 กรกฏาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น