วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

         ทิศนา  แขมมณี (2553 : 59-68 ) ได้รวบรวมไว้ว่า กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ทฤษฎีกลุ่มนี้ที่สำคัญมี ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเกสตัสท์ (Gestalt Theory) ทฤษฎีสนาม (Field Theory)ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning
           2.2.1 ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt  Theory)
          แนวความคิดหลักของทฤษฏีนี้คือ ส่วนร่วมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย  กฎของการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้สรุปได้ดังนี้
 ก. ทฤษฏีการเรียนรู้
การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิดจาประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด
2. การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที
ข. หลักการจัดการศึกษา / การสอน
1. กระบวนการคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้
2. การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3. การสงเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากคิดริเริ่มได้มากขึ้น
4. การจัดประสบการณ์ใหม่
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
6. ในการสอน ครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูณ์
7. การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกัน
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
2.2.2 ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
เคร์ทเลวิน  (Kurt Lewin) เป็นผู้ริเริ่มทฤษฏีนี้ คำว่า “field” มาจากแนวคิดเรื่อง "field of force"
ก. ทฤษฏีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจ จะมีพลังงานเป็น – ในขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี “โลก” หรือ “อวกาศ” ของตน
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.  การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2.  การจัดการเรียนรู้ให้เข้าไปอยู่ใน “โลก”ของผู้เรียน
3.  การสร้างแรงจูงใจ
2.2.3 ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)
ทอลแมน (Tolman) กล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง”
ก.  ทฤษฏีการเรียนรู้
1. ในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล
2. ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการผู้เรียนรู้จะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.  การสร้างแรงขับและแรงจูงใจ
2.  ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
2.2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Humanism)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กกว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่เร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเพียเจย์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์(Bruner)เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง(discovery learning)แนวคิดที่สำคัญๆของบรุนเนอร์มีดังนี้(Brunner,1963:1-54)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การจัดโครงสร้างของความรูให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3.การคิดแบบหยั่งรู้(intuition)เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบวามสำเร็จในการเรียนรู้
5.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3ขั้นใหญ่ๆคือ
5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ปะสารทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเยนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง(discovery learning)
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน 
1.กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3.การจัดหลักสูตรแบบเกลียว(Spiral Curriculum)ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการขงผู้เรียน
4.ในการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ ให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียน
5.การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
6.การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7.การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น
8.การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of  Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล(David Ausubel)
ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน(Ausubel,1963:77-97) การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์หรือกรอบความคิด (Advance Organizer) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

           ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
       - ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย 
       - ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ 
       - ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง 
       - ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  
       - ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
          http://oknation.net/blog/print.php?id=294321  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
     - ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
    - ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
   - ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน ( Tolman แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
   - ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
   - ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

       สรุป
       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง


ที่มา
ทิศนา  แขมมณี.(2553).ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
        ประสิทธิภาพ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ.(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486).เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม  2555
http://oknation.net/blog/print.php?id=294321  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น