วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

13.การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Colloction)

         http://www.thaigoodview.com/node/91926  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ มักจะสนใจเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลขหรือคะแนน โดยได้ข้อมูลจากการบันทึก นับวัดหรือประมาณค่าของสิ่งที่จะศึกษาด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบลงทะเบียน แบบการทดลอง เป็นต้น
ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นตัวเลขข้อมูลภายใต้ขอบข่ายของโครงการที่กำหนด ไว้นั่นเอง
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 วิธีใหญ่ ๆ ซึ่งจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษาและลักษณะของข้อมูลเหล่านั้น ดังนี้
         1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนประวัติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลเหล่านั้น
อยู่แล้วทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยการเก็บข้อมูลจากทะเบียนต่าง ๆ ของหน่วยงาน เช่น ในสถานศึกษานักเรียนทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมีชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปี เกิด ชื่อผู้ปกครอง ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ชื่อบิดา มารดาที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้ ที่อยู่ของเพื่อข้างเคียง สถานศึกษาเดิม เป็นต้น หรือในโรงพยาบาลคนไข้ทุกคนต้องทำทะเบียนประวัติ โดยมี ชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ติดต่อได้ น้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือก การแพ้ยา ฯลฯ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยวิธีนี้จะมีความเชื่อถือได้มาก ถ้าการเก็บรวบรวมข้อมูลทำอย่างครบถ้วน และผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลตามความเป็นจริง เป็นวิธีที่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
         2. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจซึ่งผู้ทำการสำรวจได้จัดเตรียมไว้ ล่วงหน้าอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมคือ การส่งเจ้าหน้าที่ถือแบบสำรวจไปสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของกิจการที่ทำมาค้าขึ้น หรืออาจสำรวจโดยตั้งกระทู้ถามโดยผู้สำรวจเป็นผู้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลเพื่อให้ตอบคำถามต่าง ๆ แล้วส่งกลับคืนมายังผู้ทำการสำรวจ ซึ่งแบบสำรวจจะต้องเหมาะสมและอ่านเข้าใจง่ายการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้รวมถึงการทำสำมะโนซึ่งเกี่ยวกับ ประชากร เคหะสถาน การเกษตร และการอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งการทำสำมะโนหมายถึงการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยในประชากรภายในขอบเขตของเรื่องที่เราสนใจศึกษา เช่น การสำมะโนเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ก็จะสอบถามครัวเรือนเกษตรทุกครัวเรือนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับเนื้อที่ เพาะปลูก พืชที่เพาะปลูก จำนวนปุ๋ยที่ใช้ ผลผลิตที่ได้ เป็นต้น การสำมะโนจะใช้เวลา แรงงานและใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก

         http://www.bestwitted.com/?p=171  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่
         1. สำมะโน (Census)  เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
         2. การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey) เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับบางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ
         3. การทดลอง ( Experiment )
          - วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
          - สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ โดยจะนำสิ่งทดลองมาใส่ให้แก่หน่วยทดลอง เพื่อทำให้สามารถวัดค่าต่างๆ หรือวัดอิทธิพลของสิ่งทดลองโดยผ่านหน่วยทดลอง เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพของยารักษาโรคหัวใจ 4 ชนิด ในที่นี้ยาคือ สิ่งทดลอง จึงมีสิ่งทดลอง 4 ชนิด
          - หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง เช่น การเปรียบเทียบยารักษาโรคหัวใจ หน่วยทดลอง คือ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ, การเปรียบเทียบคุณภาพวิธีการสอน 3 แบบ จะมีนักเรียนเป็นหน่วยทดลอง, การเปรียบเทียบคุณภาพของยา 4 ชนิด รักษาโรคใดโรคหนึ่ง มีคนไข้เป็นหน่วยทดลอง
         4. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

          http://www.thaigoodview.com/node/37681  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
    - การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกของระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการทางสถิติ               
    - ข้อมูล (dataหมายถึง กลุ่มของข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นลักษณะของค่าของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่บันทึกมาจากแต่ละหน่วยที่สังเกต(observation unitอาจเป็นแต่ละราย เช่น คน ทัศนคติ เหตุการณ์         
          - ข้อมูลที่รวบรวมอาจมีหลายตัวแปร (variablesเช่น เพศ อายุ ความสูง น้ำหนัก ระดับความคิดเห็น
การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
         1. ประเภทของข้อมูล                                
         2. ประเภทของตัวแปร                              
         3. แหล่งข้อมูล                           
         4. ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
         5. ทำไมต้องใช้ตัวอย่าง                      
         6. วิธีการสุ่มตัวอย่าง                        
         7. ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง                           
         8. การออกแบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล                     
         9. แบบฟอร์มการลงรหัสข้อมูล

          สรุป   การเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่
          1. สำมะโน (Census) เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ
          2. การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey)
เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจงนับบางหน่วยของประชากร โดยแต่ละหน่วยของประชากรที่ถูกแจงนับจะเป็นไปโดยสุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ

          3. การทดลอง ( Experiment )
              - วัตถุประสงค์ของการวางแผนการทดลองคือ เพื่อให้ทำสามารถวัดหรือเปรียบเทียบผลของสิ่งทดลอง (treatment) โดยการใช้หน่วยทดลอง (experimental unit)
              - สิ่งทดลอง หมายถึง วิธีการ หรือ กระบวนการหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการวัดหรือเปรียบเทียบ โดยจะนำสิ่งทดลองมาใส่ให้แก่หน่วยทดลอง เพื่อทำให้สามารถวัดค่าต่างๆ หรือวัดอิทธิพลของสิ่งทดลองโดยผ่านหน่วยทดลอง เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพของยารักษาโรคหัวใจ 4 ชนิด ในที่นี้ยาคือ สิ่งทดลอง จึงมีสิ่งทดลอง 4 ชนิด
              - หน่วยทดลอง หมายถึง คน สิ่งของ หรือสัตว์ที่นำมาใช้ในการทดลองเพื่อวัดผลของสิ่งทดลอง เช่น การเปรียบเทียบยารักษาโรคหัวใจ หน่วยทดลอง คือ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ, การเปรียบเทียบคุณภาพวิธีการสอน 3 แบบ จะมีนักเรียนเป็นหน่วยทดลอง, การเปรียบเทียบคุณภาพของยา 4 ชนิด รักษาโรคใดโรคหนึ่ง มีคนไข้เป็นหน่วยทดลอง
          4. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/91926  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://www.bestwitted.com/?p=171  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://www.thaigoodview.com/node/37681  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น