วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

16.ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย

           http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ขอบเขตในการวิจัย  ได้แก่
          1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
            1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                ลักษณะของประชากร
                จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
            1.2  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
                ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
                วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
            1.3  ตัวแปรที่ศึกษา
                1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
                1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
          2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
                ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

          http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/border1.htm   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าขอบเขตการวิจัย เป็นข้อความที่ระบุว่า ในการวิจัยดังกล่าวมีข้อจำกัดในเรื่องอะไรบ้างในการดำเนินการวิจัย เพราะการวิจัยแต่ละเรื่องจะมีจุดอ่อนหรือข้อจำกัดในวิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งมีผลต่อการอณุมานไปยังกลุ่มประชากรได้ ส่วนใหญ่ ขอบเขตการวิจัยจะระบุถึงขอบเขตในเรื่องของกลุ่มตัวอย่าง เวลา และสถานที่ในการเก็บข้อมูล เช่น กำหนดว่า
“ การวิจัยครั้งนี้สำรวจความคิดเห็นของพยาบาล และมารดาผู้ป่วยเด็ก เฉพาะแผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2546 ” 

          http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit3/content1.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  การวิจัยแต่ละเรื่องมีขอบเขตมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะเวลาที่จะทำการวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยวางแผนการเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายของการวิจัยที่ตั้งไว้  ขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด มีดังนี้ 
          1. ลักษณะประชากรและจำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
          2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง
          3. ตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระ
การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้นให้คำนึงถึงความมุ่งหมายของการวิจัยเป็นสำคัญ 
กรณีที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง นอกจากกล่าวถึงประชากร กลุ่มตัวอย่างและตัวแปรแล้วควรจะต้องกล่าวถึงเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง และระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองด้วย
ตัวอย่างการเขียนขอบเขตของการวิจัยที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย
          ตัวอย่างที่1 เรื่อง เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนธุรกิจ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,255 คน
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนธุรกิจในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) มีขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและมีโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 โรงเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 451 คน
          ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน 
ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติต่อวิชาคอมพิวเตอร์ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณประโยชน์ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม


          สรุป  ขอบเขตในการวิจัยได้แก่
          1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
            1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                    ลักษณะของประชากร
                    จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
            1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
                    ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
                    วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
            1.3 ตัวแปรที่ศึกษา
                  1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
                  1.3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
          2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
                ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

เอกสารอ้างอิง
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2556
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/border1.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2556
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit3/content1.html  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น