วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

2.ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background and Rationale)

          http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถระบุถึงความสำคัญของปัญหา ความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล ระบุได้ว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีที่ใดบ้าง และการศึกษานี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าได้อย่างไร  การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา จากประสบการณ์ของตัวผู้วิจัย จากข้อมูลในรายงานวิจัยของผู้อื่นที่ทำมาแล้ว นำสิ่งเหล่านี้มาสร้างแนวคิด ( conceptualization ) ในการเจาะปัญหาที่สำคัญ และวางขอบเขต (framework) ของปัญหาสำหรับทำวิจัย


         http://www.gotoknow.org/posts/261202   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย



          http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ผู้วิจัยต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

          สรุป
          ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย  ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่ามีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถระบุถึงความสำคัญของปัญหา ความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล ระบุได้ว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีที่ใดบ้าง และการศึกษานี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าได้อย่างไร  การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษา จากประสบการณ์ของตัวผู้วิจัย จากข้อมูลในรายงานวิจัยของผู้อื่นที่ทำมาแล้ว นำสิ่งเหล่านี้มาสร้างแนวคิด (conceptualization) ในการเจาะปัญหาที่สำคัญ และวางขอบเขต (framework) ของปัญหาสำหรับทำวิจัย

เอกสารอ้างอิง
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556
http://www.gotoknow.org/posts/261202  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น