http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content11.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้นเป็นข้อความเงื่อนไขที่ต้องการให้ผู้อ่านยอมรับ โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์เป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคม เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจโดยไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อตกลงในเรื่องของตัวแปร การจัดกระทำข้อมูล วิธีวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง
ตัวอย่าง การเขียนข้อตกลงเบื้องต้น
หัวข้อการวิจัย : ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงราย
ข้อตกลงเบื้องต้น สามารถเขียนได้ดังนี้
- นักศึกษาทุกคนตอบแบบสอบถามด้วยความเข้าใจและด้วยความจริงใจ
- การวิจัยในครั้งนี้ถือว่า ความแตกต่างในเรื่องเพศ อายุ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอาชีพของบิดามารดาไม่มีผลกระทบต่อการเรียน
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/Copy%20of%20111RES52/Misasumtion.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็นเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่ในการวิจัยนั้นยอมรับว่าเป็นจริงภายใต้หลักการ ทฤษฎี และความมีเหตุผลรองรับโดยเงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้น ๆ ไม่สามารถตรวจสอบได้ในทางปฏิบัติ (Fraenkel & Wallen, 1996 : 579) ตัวอย่างการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความจริงใจ
(สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2537 : 3)
2. นิสิต ระดับปริญญาโท
คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ เป็นกลุ่ม ที่มีความรู้
ความสามารถด้านวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา
แต่ยังขาดประสบการณ์ในการทำวิจัยที่หลากหลาย ; ความสามารถด้านวิธีวิทยาการวิจัยที่นำมาสร้างข้อกระทงของแบบสอบนี้
สามารถวัดได้ด้วยกระบวนการทางการวัดผล (สุวัฒนา สุภาลักษณ์, 2538 : 6)
3. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสมัครเข้าเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
มีคุณภาพพื้นฐานและปริมาณมาก
พอที่จะทำการคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นเหมาะสมที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตและสำเร็จออกไปเป็นครูที่พึงประสงค์
และคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีเอกภาพทางแนวคิด
สำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าเรียนร่วมกัน (ศิริชัย
กาญจนวาสี และคณะ, 2537 : 3)
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลในวัน
เวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ไม่มีผลทำให้เปลี่ยนแปลงไป
สรุป
ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก เป็นเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่ในการวิจัยนั้นยอมรับว่าเป็นจริงภายใต้หลักการ ทฤษฎี และความมีเหตุผลรองรับ และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง” เป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์
เอกสารอ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content11.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/Copy%20of%20111RES52/Misasumtion.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น