วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

21.เอกสารอ้างอิง (References)

          http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
           การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"
           ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA  (American Psychological Association) style

          http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การแสดงรายการทางบรรรณานุกรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน
           หลักการเลือกรูปแบบการลงรายการ
           1. หากเป็นนักศึกษา ควรสอบถามจากผู้สอนว่าต้องการให้ใช้รูปแบบใด แล้วเลือกใช้แบบที่แนะนำนั้น
           2. หากผู้สอนไม่ระบุรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้เลือกรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นสากล หรือนิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกโดยพิจารณาจากสาขาวิชาที่ท่านสังกัดอยู่แป็นแนวทาง เช่น
            1) APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา จิตวิทยา การศึกษา และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ
            2) AMA (American Medical Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทาชีววิทยา                        
            3) Chicago เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก
4) MLA (Modern Language Association) หรือ เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา วรรณกรรม ศิลป และสาขามนุษยศาสตร์
5) Turabian เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาทั่วไปในระดับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
6) Vancouver เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่นิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์
3. เลือกใช้รูปแบบของสถาบันกำหนด (ถ้ามี) ซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาได้จาก คู่มือการลงรายการบรรณานุกรมเอกสารวิชาการเพื่อการสำเร็จการศึกษา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้กำหนดรูปแบบการลงรายการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทั้งนี้ แต่ละสถาบันต่างประยุกต์จากรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมที่เป็นสากล

สรุป
           การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่องนั้นได้ ในโอกาสหน้า
การแสดงรายการทางบรรรณานุกรมสามารถทำได้หลายรูปแบบ หลักสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงรายการคือ การเลือกใช้รูปแบบที่เป็นที่นิยมในแต่ละสาขาวิชา หรือสถาบัน การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งนั้น ผู้เลือกใช้ต้องเลือกใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรนำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาผสม หรือประยุกต์ใช้ปนกัน

เอกสารอ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น